วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระกริ่งสายวัดสุทัศนเทพวราราม ( ต่อ )

                                                    พระกริ่วสายวัดสุทัศนเทพวราราม
หวัดดีครับก่อนอื่นผมต้องขอโทษก่อนนะครับที่หายหน้าไป 2 วัน วันนี้เรามาต่อกันเลยนะครับวันก่อนผมได้พูดถึงกรรมวิธีการแต่งพระของบรมครูกันไปแล้ว วันนี้ผมจะขอพูดถึงหลักในการพิจารณาพระกริ่งของวัดสุทัศนเทพวราราม ซึ่งอย่างที่ผมบอกว่าพระกริ่งของวัดสุทัศนฯ นั้นเป็นพระกริ่งแต่งจึงไม่สามารถจะยึดถือศิลปะแม่พิมพ์ได้มากนัก ตำหนิของแม่พิมพ์พระกริ่งก็ถูกตบแต่งจนไม่สามารถจะยึดถือได้ แนวทางการพิจารณาพระกริ่งวัดสุทัศนเทพวรารามจึงจำเป็นต้องยึดถือเนื้อหรือวัสดุที่นำมาสร้างเป็นหลัก
โดยเริ่มแรก
  - พิจารณาขนาดขององค์พระกริ่ง พระกริ่งที่สร้างในคราวเดี๋ยวกันจะต้องมีขนาดเท่าๆกัน
  - พิจารณาถึงพระพุทธลักษณะขององค์พระกริ่ง ถึงแม้รายละเอียดจะมีการตบแต่ง แต่พระพุทธลักษณะรวมจะต้องเหมือนกัน
  - พิจารณากรรมวิธีเจาะและบรรจุเม็ดกริ่งจะต้องเหมือนๆกัน สีโลหะที่อุดจะต้องเหมือนๆกันทุกองค์
  - ศิลปะที่ฐานจะต้องมีพุทธลักษณะที่เหมือนๆกัน
  - โลหะหรืเนื้อสัมฤทธิ์จะต้องเหมือนๆกัน สีของเนื้อจะต้องกลับกลายเหมืนๆกัน ขุมสนิมและสนิมตีนกา
จะต้องเกิดขึ้นและมีความหนาของสนิมตีนกาคล้ายๆกัน
  - ส่วนผสมของเนื้อโลหะที่ไม่ค่อยสมานกัน เนื่องจากสมัยโบราณความร้อนที่หลอมละลายโลหะยังไช้ระบบแบบโบราณ โลหะที่หลอมกลมกลืนกันไม่เหมือนปัจจุบัน เมื่อได้อายุ สีของโลหะแต่ละจุดจะแตกต่างกันและดูด่างเป็นธรรมชาติ
  - กระแสสะท้องของเนื้อโลหะเป็นประกาย พระกริ่งบางรุ่นกระแสของโลหะจะสะท้อนเป็นรายตามุ้ง
ด้วยเหตุผมทั้งหมดที่ผมได้กล่าวมา พระกริ่งวัดสุทัศนฯ ซึ่งเป็นพระแต่ง จึงยากต่อการวินิฉัยจากภาพถ่าย เพราะสีสันอาจเปลี่ยนไป กระแสสะท้อนจะไม่ปรากฎเป็นต้น ครับ สวัสดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น