วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระลีลาพลูจีบ

                                                 พระลีลาพลูจีบ กำแพงเพชร
        เมื่อวันก่อนผมพูดถึงพระลีลาเม็ดขนุนลานทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชรก็อดจะพูดถึง พระลีลาพลูจีบ ลานทุ่งเศรษฐีจังหวัดกำแพงเพชรไม่ได้ เป็นพระที่ขุดได้ในบริเวณกรุลานทุ่งเศรษฐี จังหวักำแพงเพชร เช่นกัน อีกทั้งพุทธลักษณะลีลาก็คล้ายๆ กัน ต่างกันที่พิมพ์ไม่เหมือนกันเท่านั้น
        พุทธศิลปะของพระลีลาพลูจีบนั้นเป็นพระพิมพ์ลีลา แต่มีลักษณะที่แบนและมักจะจีบคอดตรงกลาง
อันเป็นที่มาของพระนามว่า พระลีลาพลูจีบ คือมีส่วนคล้ายกับจีบใบพลูสำหรับรัปทานนั้นเองครับ
        พระลีลาพลูจีบนั้นเป็นปางพระลีลาที่มีเอกลักษณ์ทางพุทธศิลปะที่ค่อนข้างตื้น เรียกว่าพุทธลักษณะ นูนตำ จนกระทั่งในอดีดมีนักนิยมพระที่ไม่เข้าใจในพุทธศิลป์ของต้นกำเนิดขององค์พระลีลาพลูจีบ จึงพยายามที่จะตบแต่งให้องค์พระมีความชัดคมมากยิ่งขึ้น ทำให้พุทธศิลป์หรือคุณค่าในองค์พระเสียหายหรือลดคุณค่าลง
        สำหรับตำหนิแม่พิมพ์และศิลปะของพุทธศิลป์นั้น วันนี้ผมคงยังจะไม่เจาะลึกลงไปให้ละเอียดนักแต่
ผมสันญาว่าผมจะค่อยๆนำมาเขียนเรื่อยๆ จนก่วาจะครบ เคล็ดลับในการดูพระลีลาพลูจีบที่ผมจะพูดถึงวันนี้ก็คือ พุทธศิลป์ที่แผ่วเบาหรือเป็นศิลปะนูนตำ โดยเฉพาะจุดสำคัญที่สุดคือผิวขององค์พระทั้งหน้าและหลังมีรอยหยาบของแม่พิมพ์ทีเห็นได้ชัด รอยเกล็ดหยาบของผิวจะเกิดขึ้นบนพื้นของพระและกลมกลืนไปกับผิวขององค์พระปางลีลา ทำไห้ไม่เกิดรอยเส้นศิลปะแม่พิมพ์ที่คมชัดเป็นลักษณะเป็นผิวเกล็ด
ไปทั่วทั้งองค์
        จุดที่มีการแต่งแม่พิมพ์จะมีผิวค่อนข้างเรียบอย่างเห็นได้ชัดครับ แต่ถ้าผิวเรียบนวลเหมือนพระลีลาเม็ดขนุนละก็ น่ากลัวครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น