วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระลีลาเม็ดขนุน

                                                       พระลีลาเม็ดขนุนพิมพ์เล็ก

        วันนี้ผมจะขอพูดถึงเคล็ดลับในการดูพระดินเผาโดยผมจะขอเริ่มจาก พระลีลาเม็ดขนุนทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร 
        พระลีลาเม็ดขนุนนั้นเป็นพระที่ขุดใด้จากบริเวณลานทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร บริเวณลานทุ่งเศรษฐีนั้นจะมีหลายวัด หลายกรุ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นกรุพระเจดีย์ที่จมอยู่ใต้พื้นดิน พระลีลาเม็ดขนุนเป็นพระที่ขุดพบพร้อมๆ กับพระซุ้มกอ พระลีลาพลูจีบ ตลอดจนพระกรุลานทุ่งเศรษฐี เช่น พระนางพญากำแพง พระนางกลีบบัว และยังมีพระพิมพ์ต่างๆอีกหลายพิมพ์
        พระลีลาเม็ดขนุนเป็นพระเนื้อดินเผาที่มีเนื้อค่อนข้างละเอียดปราศจากกรวดแร่ใดๆ ทั้งสิ้น ผิวพระจะค่อนข้างนุ่ม เมื่อผ่านการใช้มากๆ เนื้อพระจะมันและค่อนข้างไสเหมือนวุ้น สีพระจะมีทั้งหมด 3 สีคือ
สีแดง สีเหลือง และสีเขียว พุทธลักษณะขององค์พระมีลักษณะยาวและไม่ตัดขอบ จึงมีลักษณะคล้ายๆ
เม็ดขนุน อันเป็นที่มาของพระนามว่า พระลีลาเม็ดขนุน
        เนื่องจากพุทธลักษณะเป็นเม็ดยาว การถอดพิมพ์ของพระลีลาเม็ดขนุนจึงมักจะเคลื่อน จนทำให้ไหล่ขององค์พระเคลื่อนเป็นชั้นๆ ที่พระพักตร์ขององค์พระจะเคลื่อนจนดูไม่สวยงามพอ อย่างไรก็ตามสำหรับพระองค์ที่พิมพ์ไม่เคลื่อน การกดพิมพ์ขององค์พระส่วนบนที่พระพักตร์และการกดพิมพ์ขององค์พระส่วนล่างที่พระบาทก็มักจะกดพิมพ์ได้ไม่เสมอกัน ถ้าพระบาทกดได้ชัด ที่พระพักตร์ก็จะไม่ชัดเต็มพิมพ์พอ ถ้าพระพักตร์กดได้เต็มพิมพ์ พระบาทก็มักจะไม่เต็มพิมพ์ หรืออาจจะเคลื่อนบางองค์ถอดพิมพ์จากด้านล่าง และถอดพิมพ์แรงเกินไปทำให้องค์พระย่นสั้นเข้า ทำให้ศิลปะแม่พิมพ์ขององค์พระดูผิดไป
ในอดีตจึงมีฅนบอกว่า พระลีลาเม็ดขนุน มี 2 พิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่และพิมพ์สั้น แต่ข้อเท็จจริงนั้นมีเพียงแม่พิมพ์เดียวเท่านั้นครับ
        เคล็ดลับในการดูแม่พิมพ์พระลีลาเม็ดขนุนนั้นผมจะขอพูดแต่ในจุดใหญ่ๆเท่านั้นนะครับในส่วนของลายละเอียดย่อยนั้นวันหน้าผมจะนำมาบอกอีกที ( วันนี้ผมมีเวลาน้อยครับ ต้องขอโทษด้วยครับ )
        ศิลปะแม่พิมพ์ที่เป็นจุดใหญ่ๆ ก็คือ ปีกนอกซุ้มทางขวามือขององค์พระจะสูงขึ้น ในขณะที่ปีกนอกซุ้มทางซ้างมือขององค์พระจะลาดปาดลงเกือบ 45 องศา ซุ้มเรือนแก้วจะเป็นเส้นลึกลงไปในเนื้อขององค์พระ มีเกลียวคล้ายเกลียวเชือก
        เนื่องจากเนื้อพระของพระลีลาเม็ดขนุนค่อนข้างนุ่ม ในองค์พระที่กดแม่พิมพ์ไม่ค่อยชัด ในอดีตจึงนิยมแต่งให้พระดูสวย คมชัดยิ่งขึ้น โดยไช้พูกันตัดปลายให้สั้น ให้เข็งตัวเป็นสปริง และค่อยๆเขี่ยพระที่ชุ่มนำให้เส้นสายในองค์พระลึกและคมชัดยิ่งขึ้น เส้นซุ้มครอบแก้วที่ถูกเขี่ยให้ลึกขึ้นนั้นจะกลบเกลียวเชือกในเส้นครอบแก้วให้หมดไป ตรอดจนบริเวณพื้นขององค์พระที่จรดกับองค์พระก็มักจะไช้พูกันค่อยๆ
ขุดจนเป็นร่องลึกรอบองค์พระหรือบางส่วนขององค์พระโดยเฉราะที่เศียรขององค์พระ เพื่อให้ดูพระลึกจนผิดปรกติ เราเรียกว่าพิมพ์เซาะร่องครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น