วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

พระผงสุพรรณ

                             พระผงสุพรรณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี


        สำหรับเคล็ดลับในการดูพระพงสุพรรณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี นั้น รายละเอียดตำหนิในแม่พิมพ์นั้น วันนี้ผมจะยังไม่กลาวถึง แต่วันนี้ผมจะพูดถึงธรรมชาติความเก่าและความสวยงามของพระผงสุพรรณเท่านั้น
        พระผงสุพรรณนั้นเป็นพระที่ขุดได้ในกรุพระเจดีย์วัดพระศรัรัตนมหาธาตุ ไม่ใช่พระที่ฝังอยู่ในดินเหมือนพระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน เพราะฉะนั้น พระผงสุพรรณจึงไม่มีขี้ดินหรือนวลดินจับ มีแต่คราบกรุและคราบฝุ่นในกรุจับแน่นเท่านั้น พระบางองค์จะมีรารักจับ ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากยางรากไม้ที่งอกขึนบนกรุพระเจดีย์โดยธรรมชาติ พระผงสุพรรณมีทั้งหมด 3 พิมพ์ด้วยกัน คือ
        1. พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่
        2. พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้ากลาง
        3. พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าหนุ่ม
        พระผงสุพรรณเป็นพุทธลักษณะศิลปะสมัยอู่ทอง และก็คล้องจองกับพระอู่ทองยุคต้น ยุคกลาง และยุคปลาย ซึ่งบางท่านเรียกว่า พระอู่ทองหน้าแก่ พระอู่ทองหน้ากลาง พระอู่ทองหน้าหนุ่ม พระผงสุพรรณเป็นพระเนื้อดินเผา มีทั้งหมด 4 สี คือ
        1. พระผงสุพรรณ สีดำ จะมีขนาดขององค์พระใหญ่ที่สุดเพราะเผาเนื้อดินสุกไม่เต็มที่
        2. พระผงสุพรรณ สีแดง จะมีขนาดเล็กก่วาสีดำ
        3. พระผงสุพรรณ สีเหลือง จะมีขนาดเล็กก่วาสีแดงเล็กน้อย
        4. พระผงสุพรรณ สีเขียว จะมีขนาดเล็กลงอีกเล็กน้อย เพราะเผาได้แกร่งที่สุด เนื้อดินจะหดตัวมากที่สุด
        ที่ผมบรรณยายถึงเรื่องสีสันของพระผงสุพรรณก็ดี พระเนื้อดินก็ดี ก็เพื่อไห้ท่านผู้อ่านที่เคารพพึงสังเกตและพึงระวังถึงขนาดขององค์พระกับสีขององค์พระจะต้องสมเหตุสมผลกัน มิไช่ว่าพระผงสุพรรณหน้าแก่ สีดำ มีตำหนิคมชัดทุกประการ แต่มีขนาดเล็กลงมากจนผิดตาสภาพที่ว่านี้ย่อมอันตรายมาก
เพราะอาจจะเป็นพระถอดพิมพ์ในภายหลังครับ
        พระผงสุพรรณ สีดำ ที่พูดกันว่าเป็นพระดินที่เผาไม่สุกพอนั้นก็มีการยืนยันว่าเคยมีพระผงสุพรรณพิมพ์หน้าแก่ที่มีความสวยงามมากเพื่อให้เป็นไปตามความนิยมของสีพระ ท่านเจ้าของพระถึงกับลงทุนนำพระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ สีดำ ไปเผาไฟอีกครั้งหนึ่ง จนกลายเป็นพระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ สีแดง ครับ
        พระผงสุพรรณเป็นพระเนื้อดินที่มีความละเอียดมาก ไม่มีแร่ธาตุหรือกรวดทรายเจือปน จนกระทั้งเคยมีฅนสันนิษฐานว่าพระฤาษีที่สร้างพระผงสุพรรณน่าจะนำเอาดินที่ตกตะกอนจากลำน้ำในลำธารภายในถ้ำที่พระฤาษีจำศีลอยู่ ก็พูดไปโดยปราศจากหลักฐานใดๆ ยืนยันนะครับ แต่เพราะเนื้อดินที่ละเอียดนี้ละครับจึงได้รับการขนานนามว่า " พระผงสุพรรณ "
        พระผงสุพรรณถึงแม้ว่าเนื้อดินจะละเอียดเป็นผง แต่ผิวของพระผงสุพรรณก็มีเอกลักษณ์พิเศษที่ตกกระและเหี่ยวย่น ไม่เหมือนพระดินเผาทัวไป เอกลักษณ์ของผิวพระผงสุพรรณจึงกลายเป็นเคล็ดลับอันสำคัญของการดูพระแท้ของพระผงสุพรรณ
        พระผงสุพรรณ นอกจากสีของเนื้อดินแล้ว ลักษณะการตัดขอบขององค์พระก็เป็นสิ่งสำคัญอันยิ่งยวด มีลักษณะการตัดขอบเป็น 3 ลักษณะคือ
        1. ตัดเป็นรูปสามเหลียมทรงสูง
        2. ตัดเป็นรูปห้าเหลี่ยม
        3. มิได้ตัดขอบ
        เคล็ดลับในการดูพระผงสุพรรณสวยนั้น นอกจากดูที่รายละเอียดของศิลปะแม่พิมพ์ โดยเฉพาะพระผงสุพรรณมีเอกลักษณ์ที่เส้นกระจังจะลึกมาก เนื่องจากเป็นศิลปะอู่ทอง พุทธลักษณะจึงค่อนข้างลึก
พระเศียรจะนูนสูงชัด ปรากฏพระเนตรและกระจัง ซึ่งเป็นเส้นลึกมาก เส้นลึกของกระจังมีเอกลักษณที่หน้าผากขององค์พระจะนูนลาดลงมาสู่วงหน้า และพระเกศาจะนูนโค้งขึ้นไปส่วนบนระหว่างเส้นกระจังจะปรากฏเส้นเหนอะของการถอดพิมพ์ ดูคล้ายๆกับเส้นปรายผมตก มีท่านอาจารย์บางท่านเรียกเส้นนี้ว่า
เส้นชีวิต
        ถ้าเส้นกระจังมีการขุดให้ลึกลงจะไม่ปรากฏเส้นไรผมหรือเส้นชีวิตไดๆ นอกจากเส้นกระจังแล้ว
พระเนตรและพระกรรณจะพิมพ์เห็นชัดมาก ชัดจนปรากฏจุดตำหนิต่างๆ มากมาย พระกรรณจะกางออกเป็นเหมือน " หูบายสี " แต่ศิลปะลำคอจะจมหายไปกับผื้นแผ่นหลังขององค์พระ
        อกขององค์พระผงสุพรรณจะสูงเด่นเหมือนเศียรช้าง และช่วงท้องขององค์พระจะนูนต่ำและจมหายไปกับพื้นก็มี พระกรทั้งสองข้างขององค์พระที่ข้อศอกจะจมหายเข้าไปในพื้นพระจนปรากฏข้อศอกค่อนข้างตื้น และในบางองค์ที่พิมพ์ไม่ลึกพอ ข้อศอกจะจมหายเข้าไปในพื้นขององค์พระ
        ด้วยความเข้าใจผิดของฅนในอคีตที่ต้องการให้พระผงสุพรรณดูสวยงามยิ่งขึ้น จึงพยายามโกนหน้าผากให้เป็นเส้นกระจังอย่างชัดเจน โกนข้อศอกให้เห็นเป็นลำแขน แม้กระทั้งอุดพระเนตรให้พระเนตรทั้งสองข่างเสมอกัน จนมีท่านอาจารย์บางท่านเรียกพิมพ์นี้ว่า " พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าโกน " ครับ
        เคล็ดลับของการดูพระผงสุพรรณสวย ผู้ฅนก็ยังลืมดูไปว่า เพราะเหตุที่การตัดขอบขององค์พระ
เป็นรูปสามเหลี่ยมยอดแหลมเป็นเหตุให้ตัดเอาพระกรรณทั้งสองข้างหรือพระกรรณข้างหนึ่งข้างใดขาดหายไปประกอบด้วยเข่าขององค์พระทั้งสองข้างจะค่อนข่างก้วางการตัดขอบก็มักจะตัดเอาหัวเข่าข้างหนึ่งข้างใดหรือทั้งสองข้างขาดไป เพราะฉะนั้น ความสวยขององค์พระที่จะต้องพิจารณาถึงความลึกของแม่พิมพ์แล้ว องค์ประกอบขององค์พระที่สมบูรณ์จะเป็นสิ่งสำคัณในการพิจารณาครับ

วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระรอด กรุวัดมหาวัน ( ตอน 3 )

                                                   พระรอด กรุวัดมหาวัน พิมพ์เล็ก


        สวัดดีครับ วันนี้ก่อนอื่นผมต้องขอโทษเพื่อนๆ ทุกท่านด้วยนะครับที่หายหน้าไปนาน คือพอดีว่าลูกสาวของผมไม่ค่อยสบายนะครับจึงต้องไปดูแลเขาก่อน
        วันนี้เรามาต่อจากวันก่อนกันเลยนะครับ วันก่อนผมได้กล่าวไปแล้วถึงที่มาของ " พระรอดกรุใหม่" วันนี้ผมจะพูดถึงกรรมวิธีการขุดพระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ซึ่งการขุดพระรอดนั้นจะเป็นวิธีที่ละเอียดอ่อนและเป็นหลักวิชาการมาก เริมด้วยผู้ที่เข้าไปติดต่อประมูลการขุดจะต้องติดต่อกับท่านเจ้าอาวาสวัดมหาวันว่าขออนุญาตขุดทั้งหมดเป็นจำนวนกี่หลุม เมื่อขุดได้พระแล้วจะต้องนำพระมาให้ท่านเจ้าอาวาสดู เสร็จแล้วจึงจะสามารถตกลงเป็นราคาค่าเช่าพระรอดกับท่านเจ้าอาวาส เมื่อชำระเงินตามที่ตกลงกันแล้วจึงจะสามารถครอบครองพระรอดในองค์ที่ขุดขึ้นมาได้
        ที่ว่ากรรมวิธีการขุดเป็นไปตามหลักวิชาการนั้นคือช่างขุดผู้ชำนาญ 1 ฅน จะขุด 1 หลุม ผู้ที่ประมูลขุดกับท่านเจ้าอาวาสมีสิทธิขุดได้ 3 หลุม หรือ 4 หลุม ก็จะต้องว่าจ้างผู้ชำนาญขุด 3 หรือ 4 ฅน ตามจำนวนหลุม ผู้ประมูล หรือเราเรียกว่านายทุน จะต้องเฝ้าอยู่ที่ปากหลุมตลอดเวลา มืฉะนั้นถ้าช่างขุดพระรอดได้ก็อาจมิถึงมือนายทุน อันจะสร้างปัญหากับทางวัดมหาวันอย่างมากมาย กรรมวิธีขุดจะต้องขุดหลุมสี่เหลียมลึกลงไปในดินบริเวณระดับที่มักจะขุดพระได้ เสร็จแล้วช่างผู้ชำนาญจะค่อยๆ ใช้แปรงปัดดินออกเป็นขุย ดินส่วนใดแข็งเกินไปก็ต้องเอาสเปรย์ฉีดนำให้ดินร่วนและสามารถปัดดินเป็นขุยได้ ดินที่ปัดเป็นขุยแล้วก็ต้องค่อยๆโกยเอาดินออกและส่งมายังปากหลุมค่อยๆ ปัดดินไปเรี่อยๆ รอบๆ หลุมหรือลึกลงไปในหลุม ปัดอย่างใจเย็นๆ หลายๆ วัน หลายๆ เดือน จึงจะพบพระสักองค์ ถ้าขุดไม่พบพระ ตกเย็นก็ต้องปิดปากหลุมและเลิกขุด พร่งนี้ขุดใหม่ ปัจจุบันขุดชอนเข้าไปยังใต้พื้นพระอุโบสถ เพราะบริเวณลานนอกพระอุโบสถขุดจนพรุนหมดแล้ว ปัจจุบันพระรอดหน้าจะหมดแล้วนะครับ ( เป็นความเห็นส่วนตัว )
        เมื่อช่างขุดพบพระรอด ด้วยความชำนาญช่างจะทราบทันทีว่าขุดพบพระรอดแล้ว ต้องขุดเป็นก้อนดินขึ้นมาทั้งก้อนที่ห่อหุ้มพระรอดอยู่ภายใน แล้วส่งมอบให้นายทุนนำไปให้ท่านเจ้าอาวาสดู เดือนสองเดือนจึงจะขุดพระได้สักองค์ เพราะฉะนั้นความแตกตื่นดีใจจึงมีเป็นอย่างมาก ข่าวการขุดพระได้จะดังกระฉ่อนดังจนเข้ามาถึงกรุงเทพฯ เรื่องการขุดพระรอดได้จึงไม่สามารถเก็บเป็นความลับได้อย่างเด็ดขาด เพราะฉะนั้นถ้าช่างขุดพระอมพระไปละก็ จะเกิดปัญหากับนายทุนผู้ประมูลการขุดได้อย่างแน่นอน ไหนจะไม่ใด้พระ ไหนจะเสียค่าแรงทุกวัน ไหนจะถูกท่านเจ้าอาวาสหาว่าโกงพระ ถูกสั่งไห้ระงับการขุดและจะไม่มีโอกาสขุดอีกตลอดชีวิต
        มาพูดกันถึงตอนที่ขุดพระได้แล้ว และนำพระรอดไปให้ท่านเจ้าอาวาสดูเพื่อประเมินราคา จุดสำคัญที่สุดก็คือต้องล้างดินออกเพื่อที่จะเห็นพระรอดทั้งองค์ว่าสมบูรณ์แค่ไหน สวยงามมากแค่ไหน ต้องล้างน้ำไห้ดินออกเกื่อบหมด เพราะต้องการเห็นความลึกและรายละเอียดของพระรอด โดยเฉพาะดินที่จับบนองค์พระรอดเป็นดินเหนียวที่จับแน่นมาก การล้างพระด้วยน้ำและปัดดินด้วยพูกันจึงจะสามารถล้างพระรอดให้สะอาดพอให้เห็นรายละเอียดความสวยงามขององค์พระได้สามารถจะประเมินราคาได้แม่นยำ โดยเฉพาะค่าเช่าพระรอดจะต้องประเมินกันองค์ละหลายล้านบาท ยิ่งจะต้องล้างไห้สะอาด ไห้เห็นเส้นแซมและเส้นน้ำตกว่าชัดแค่ไหน
        ผมยังจำคำสอนของท่านอาจารย์วิโรจน์ ใบประเสริฐ ได้ดีว่า เมื่อขุดพระขึ้นจากกรุ ไม่ว่าจะเป็นพระบูชาหรือพระเครื่องชนิดได ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัมฤทธิ์ เนื้อชิน หรือเนื้อดินเผา จะไปแตะต้องถูล้างไม่ได้โดยเด็ดขาด เพราะเนื้อพระจะอ่อนนิมมาก การถูล้างจะทำลายผิวขององค์พระหรือยุบสลายได้ง่ายมาก ต้องปล่อยทิ้งไว้นานเป็นเดือน ให้เนื้อพระถูกอากาศจนแข็งตัว และดินที่จับบนองค์พระแห้งและร่วนหลุดจากองค์พระ
พระจึงจะสวยคมชัดมาก พระรอดกรุมหาวัน จังหวัดลำพูน เป็นพระเนื้อดินเผา มีสีแตกต่างกัน เนื้อดินเผาแกร่งไม่เท่ากัน เช่น
        พระรอด สีขาว  เนื้อพระจะนิ่มมากเหมือนดินสอพอง องค์พระดูใหญ่
        พระรอด สีแดง เนื้อพระจะแข็งขึ้น สีแดงดูสวย องค์พระดูเล็กก่วา
        พระรอด สีเหลือง เนื้อพระจะแข็งแกร่งก่วาสีแดง พระจะดูหดตัวเล็กก่วาสีแดงเล็กน้อย ทำให้รายละเอียดขององค์พระดูชัดคมขึ้น
        พระรอด สีเขียวคาบเหลือง เนื้อพระค่อนข้างจะแข็งแกร่ง องค์พระจะดูเล็กลงก่วาพระเนื้อสีแดงและสีเหลือง รายละเอียดขององค์พระจะดูคมชัด โพธิ์หลังจะดูเป็นสันเป็นเหลี่ยม
        พระรอด สีเขียว เนื้อพระแกร่งมาก องค์พระยิ่งมีขนาดเล็กลง ความคมของลายละเอียดจะคมที่สุด
โพธิ์หลังขึ้นเป็นสัน รายละเอียดบนองค์พระจะเป็นเส้นมาก
        พระรอด สีเขียวเข้มหรือเขียวดำ เป็นพระที่มีเนื้อดินแข็งแกร่งที่สุด องค์พระมีการหดตัวมาก บางองค์หดตัวเสียจนมีขนาดเล็กผิดปกติ เพราะมีการหดตัวมาก รายละเอียดบนองค์พระจึงดูไม่ผึ่งผายเหมือนพระรอดสีเขียว
        เพราะฉะนั้น การที่ล้างพระรอดทันทีเพื่อประเมิณราคาขององค์พระกับท่านเจ้าอาวาส จึงมีผลทำให้ผิวขององค์พระถูกล้างทำลายความคมของศิลปะแม่พิมพ์ขององค์พระไป ดูผิวเผินจะเห็นองค์พระล่ำสันดี แต่รายละเอียดของแม่พิมพ์จะมน ไม่มีสันคม โดยเฉพาะโพธิ์หลังจะมนๆ ไม่เป็นสันตั้งฉากตามศิลปะแม่พิมพ์เดิม เป็นเหตุให้ความสวยงามขององค์พระลดน้อยลง เหมือนพระถูกล้างผิว
        ตรงกันข้ามกับพระรอดสีเขียว เนื้อพระแกร่งมาก ทนทานต่อการล้างน้ำ ทำให้องค์พระรอดสีเขียวยังคงผิวขององค์พระรอดไว้เหมือนเดิม โดยเฉพาะรายละเอียดศิลปะแม่พิมพ์จะคมชัดสวยงามตามศิลปะแม่พิมพ์เดิมของพระรอด ถ้าพระรอดเนื้อสีแดงและเนื้อสีเขียวมีความสวยงามพอๆ กัน ฅนโบราณจึงยึดถือ "พระรอดเนื้อเขียวมีความงามและมีคุณค่าสูงก่วา"
        สำหรับเรื่องราวของพระรอดผมขอจบไว้ตรงนี้ก่อนนะครับแล้วโอกาสหน้าผมจะมาพูดถึงเรื่องของตำหนิแม่พิมพ์รวมถึงจุดตายต่างๆที่จะชี้ว่าพระแท้หรือเก๊กันนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระรอด กรุวัดมหาวัน ( ตอน 2 )

                                           พระรอด กรุวัดมหาวันพิมพ์กลาง

        หวัดดีครับวันนี้เรามาต่อกันเลยนะครับ พระรอดกรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน เริ่มเป็นพระที่ยอดนิยมในหมู่พุทธศาสนิกชนโดยเฉพราะเป็นพระเอกในชุดพระเบญจภาคี พระรอด กรุวัดมหาวัน ส่วนใหญ่เป็นพระที่ผ่านการไช้จากฅนในยุคก่อน และการไช้พระ การบูชาพระของฅนในยุคอดีตเรียกว่าใช้จริงๆ คือพกบูชาติดตัวโดยไม่มีการเลี่ยมพระเหมือนในปัจจุบัน บางท่านก็ใช้อมเข้าปากเวลาเดินทางไปในที่ต่างๆ หรือมักจะนำมาเช็ดถูกับหน้าเพื่อให้เหงื่อไคลบนใบหน้าเจ้าของพระได้ซึมเข้าไปในเนื้อของพระรอด ดูเนื้อนุ่ม และในยุคนั้นถือว่าสวยดี บางครั้งเอาพระแช้น้ำชาและนำเอาใบตองแห้งมาขัดผิวให้พระดูขึ้นมัน
เรียกว่าผิว " มันปู " ยิ่งดูขลังและสวยใหญ่ครับ
        พระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ที่สวยๆ หรือคอ่นข้างสวยจึงมักจะเป็น " พระกรุใหม่ " คำว่าพระกรุใหม่นั้นไม่ใด้หมายความว่าพระรอดยังมีอยู่ในกรุพระเจดีย์อีก หรือกรุพระเจดีย์เดิมยังมีอยู่ แต่หมายถึงพระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ที่ขุดค้นขึ้นมาใหม่ขุดจากลานบริเวณพื้นที่ภายในวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน
        ครับวันนี้ผมขอหยุดไว้เท่านี้ก่อนนะครับ แล้วพรุ่งนี้เราค่อยมาต่อกันไหม่ ( ช่วงนี้ลูกไม่ค่อยสบายนะครับเลยไม่มีเวลาที่จะเขียนทีเดียวให้จบเพราะต้องคอยดผูแลเขา ต้องขอโทษด้วยนะครับ )
   

วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระรอด กรุวัดมหาวัน

                                                 พระรอก กรุวัดมหาวันพิมพ์ตื้น

        วันนี้เรามาต่อกันที่พระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ที่สวยงามนั้นมีเคล็ดลับในการดูอย่างไรกันบ้างครับ
        เพื่อนๆครับ ทำไมฅนโบราณจึงนิยมพระเนื้อดินสีเขียวมากก่วาดินสีแดงและสีเหลืองครับ ถ้าจะพูดถึงพระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ผมก็จะขอเรียนชี้แจงถึงที่มาของพระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพระที่สร้างมาตั้งแต่สมัยทวาราวดี ซึ่งมีอายุการสร้างประมาณ 1,000 กว่าปี
ก็เพราะว่าพุทธศิลป์ของพระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน เป็นศิลปะทวาราวดี แต่จะสร้างในสมัยทวาราวดีหรือสร้างในสมัยยุคหลัง ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด ทราบแต่ว่าพระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน เป็นพระเครื่องดินเผาที่บรรจุอยู่ในกรุพระเจดีย์ในวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน และเมื่อปีใดไม่ทราบ( ผมจำไม่ใด้ ) พระเจดีย์ในวัดมหาวันได้ล้มครืนลงมาทำไห้เศษอิฐ เศษดิน ตลอดจนพระรอดทั้งหมดกระจัดกระจ่ายเต็มบริเวณวัดมหาวัน ในสมัยนั้นพระเครื่องยังไม่เป็นที่นิยมของพุทธศาสนิกชนมากนัก เพื่อเป็นการปรับบริเวณวัดให้เรียบร้อย ทางวัดมหาวันจึงได้เก็บกวาด เศษอิฐ เศษดิน รวมถึงพระรอดทั้งหมด เพื่อนำไปถมในสระน้ำภายในวัดมหาวัน และภายหลังวัดมหาวันมหาวันได้พัฒนาสร้างปูชนียสถานและพระอุโบสถจนทั่วทั้งวัดมหาวัน
        เหตุการณ์กำลังสนุกเลยนะครับติดตามต่อในวันพรุ่งนี้นะครับ

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระลีลาพลูจีบ

                                                 พระลีลาพลูจีบ กำแพงเพชร
        เมื่อวันก่อนผมพูดถึงพระลีลาเม็ดขนุนลานทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชรก็อดจะพูดถึง พระลีลาพลูจีบ ลานทุ่งเศรษฐีจังหวัดกำแพงเพชรไม่ได้ เป็นพระที่ขุดได้ในบริเวณกรุลานทุ่งเศรษฐี จังหวักำแพงเพชร เช่นกัน อีกทั้งพุทธลักษณะลีลาก็คล้ายๆ กัน ต่างกันที่พิมพ์ไม่เหมือนกันเท่านั้น
        พุทธศิลปะของพระลีลาพลูจีบนั้นเป็นพระพิมพ์ลีลา แต่มีลักษณะที่แบนและมักจะจีบคอดตรงกลาง
อันเป็นที่มาของพระนามว่า พระลีลาพลูจีบ คือมีส่วนคล้ายกับจีบใบพลูสำหรับรัปทานนั้นเองครับ
        พระลีลาพลูจีบนั้นเป็นปางพระลีลาที่มีเอกลักษณ์ทางพุทธศิลปะที่ค่อนข้างตื้น เรียกว่าพุทธลักษณะ นูนตำ จนกระทั่งในอดีดมีนักนิยมพระที่ไม่เข้าใจในพุทธศิลป์ของต้นกำเนิดขององค์พระลีลาพลูจีบ จึงพยายามที่จะตบแต่งให้องค์พระมีความชัดคมมากยิ่งขึ้น ทำให้พุทธศิลป์หรือคุณค่าในองค์พระเสียหายหรือลดคุณค่าลง
        สำหรับตำหนิแม่พิมพ์และศิลปะของพุทธศิลป์นั้น วันนี้ผมคงยังจะไม่เจาะลึกลงไปให้ละเอียดนักแต่
ผมสันญาว่าผมจะค่อยๆนำมาเขียนเรื่อยๆ จนก่วาจะครบ เคล็ดลับในการดูพระลีลาพลูจีบที่ผมจะพูดถึงวันนี้ก็คือ พุทธศิลป์ที่แผ่วเบาหรือเป็นศิลปะนูนตำ โดยเฉพาะจุดสำคัญที่สุดคือผิวขององค์พระทั้งหน้าและหลังมีรอยหยาบของแม่พิมพ์ทีเห็นได้ชัด รอยเกล็ดหยาบของผิวจะเกิดขึ้นบนพื้นของพระและกลมกลืนไปกับผิวขององค์พระปางลีลา ทำไห้ไม่เกิดรอยเส้นศิลปะแม่พิมพ์ที่คมชัดเป็นลักษณะเป็นผิวเกล็ด
ไปทั่วทั้งองค์
        จุดที่มีการแต่งแม่พิมพ์จะมีผิวค่อนข้างเรียบอย่างเห็นได้ชัดครับ แต่ถ้าผิวเรียบนวลเหมือนพระลีลาเม็ดขนุนละก็ น่ากลัวครับ