วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

พระกริ่งสายวัดสุทัศนเทพวราราม

พูดถึงพระกริ่งวัดสุทัศนฯ ซึ่งเป็นพระยอดนิยมของฅนไทย มีเพื่อนๆหลายฅนได้สอบถามผมมาถึงรายละเอียดและประวัติการสร้างพระกริ่งในสกุลวัดสุทัศนฯ ซึ่งความยากลำบากในการวินิจฉัยพระกริ่งวัดสุทัศนฯ อยู่ตรงที่พระกริ่งวัดสุทัศนมีการแต่งองค์พระให้ดูสวยงามและชัดเจน กรรมวิธีการแต่งพระนั้นก็มีหลายวิธีและหลายช่าง ช่างบางท่านเช่น ท่านอาจารย์หนู ก็เป็นช่างบรมครูใช้กรรมวิธีไล่เนื้อ ไม่ไช้กรรมวิธีการตะไบเนื้อออก เช่นถ้าปรากฏว่าพระกริ่งที่ภายหลังการหล่อพระเสร็จเรียบร้อยแล้วจะเกิดเป็นหลุมเป็นบ่อ เนื่องจากฟองอากาศ พระกริ่งบางองค์เมื่อเทออกมาเสร็จแล้วก็มีบางจุดโป่ง บางจุดเบี้ยว
การแต่งพระที่ถูกตามหลักวิชาการนั้นจะต้องไม่ไช้วิธีการตะไบเนื้อออก แต่ไช้เหล็กแหลมคอ่ยๆ เคาะไล่เนื้อส่วนเกินไห้ยุบและไปโป่งไนบริเวณที่พระกริ่งมีเนื้อยุบ เพื่อไห้พระกริ่งทั้งองค์มีสัดส่วนสมบูรณ์และได้สมดุล ที่ไดที่เป็นรูพรุน และไม่สามารถไล่เนื้อจากจุดไดได้จำเป็นต้องอุดรูพรุนด้วยการเสริมเนื้อ
โดยการนำฉนวนพระกริ่งไนช่อเดียวกันเพื่อไห้เนื้อพระกริ่งเหมือนกันทั้งองค์ เสร็จแล้วเหลาฉนวนไห้แหลมและตอกอุดลงไปในรูที่พรุน พออุดแน่นแล้วจึงตัดฉนวนไห้ชิดกับองค์พระกริ่งเสร็จแล้วจึงใช้เหล็กแหลมไล่เนื้อไห้เต็มและแน่นจนพระกริ่งสมบูรณ์หมดทั้งองค์ อีดทั้งยังไช้เหล็กแหลมค่อยๆ ขูดผิวพระกริ่งให้เรียบและตึงเสมอกันทั้งองค์ กรรมวิธีบรมครูนี้เป็นเรื่องที่ยากและไช้เวลาเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้น ช่างบางท่านจึงไช้วิธีรวบรัดไช้ตะใบถูพระให้เรียบมากก่วาการไล่เนื้อ เป็นเหตุไห้องค์พระกริ่งมีขนาดเล็กและบางลง อันเป็นการแต่งพระที่ไม่ถูกต้อง
เพื่อนๆครับพอดีวันนี้ผมมีธุระด่วนเข้ามาต้องขอโทษจริงๆยังไงพรุ่งนี้ถ้าไม่ติดอะไรผมจะมาต่อไห้นะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น