วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

พระผงสุพรรณ

                             พระผงสุพรรณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี


        สำหรับเคล็ดลับในการดูพระพงสุพรรณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี นั้น รายละเอียดตำหนิในแม่พิมพ์นั้น วันนี้ผมจะยังไม่กลาวถึง แต่วันนี้ผมจะพูดถึงธรรมชาติความเก่าและความสวยงามของพระผงสุพรรณเท่านั้น
        พระผงสุพรรณนั้นเป็นพระที่ขุดได้ในกรุพระเจดีย์วัดพระศรัรัตนมหาธาตุ ไม่ใช่พระที่ฝังอยู่ในดินเหมือนพระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน เพราะฉะนั้น พระผงสุพรรณจึงไม่มีขี้ดินหรือนวลดินจับ มีแต่คราบกรุและคราบฝุ่นในกรุจับแน่นเท่านั้น พระบางองค์จะมีรารักจับ ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากยางรากไม้ที่งอกขึนบนกรุพระเจดีย์โดยธรรมชาติ พระผงสุพรรณมีทั้งหมด 3 พิมพ์ด้วยกัน คือ
        1. พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่
        2. พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้ากลาง
        3. พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าหนุ่ม
        พระผงสุพรรณเป็นพุทธลักษณะศิลปะสมัยอู่ทอง และก็คล้องจองกับพระอู่ทองยุคต้น ยุคกลาง และยุคปลาย ซึ่งบางท่านเรียกว่า พระอู่ทองหน้าแก่ พระอู่ทองหน้ากลาง พระอู่ทองหน้าหนุ่ม พระผงสุพรรณเป็นพระเนื้อดินเผา มีทั้งหมด 4 สี คือ
        1. พระผงสุพรรณ สีดำ จะมีขนาดขององค์พระใหญ่ที่สุดเพราะเผาเนื้อดินสุกไม่เต็มที่
        2. พระผงสุพรรณ สีแดง จะมีขนาดเล็กก่วาสีดำ
        3. พระผงสุพรรณ สีเหลือง จะมีขนาดเล็กก่วาสีแดงเล็กน้อย
        4. พระผงสุพรรณ สีเขียว จะมีขนาดเล็กลงอีกเล็กน้อย เพราะเผาได้แกร่งที่สุด เนื้อดินจะหดตัวมากที่สุด
        ที่ผมบรรณยายถึงเรื่องสีสันของพระผงสุพรรณก็ดี พระเนื้อดินก็ดี ก็เพื่อไห้ท่านผู้อ่านที่เคารพพึงสังเกตและพึงระวังถึงขนาดขององค์พระกับสีขององค์พระจะต้องสมเหตุสมผลกัน มิไช่ว่าพระผงสุพรรณหน้าแก่ สีดำ มีตำหนิคมชัดทุกประการ แต่มีขนาดเล็กลงมากจนผิดตาสภาพที่ว่านี้ย่อมอันตรายมาก
เพราะอาจจะเป็นพระถอดพิมพ์ในภายหลังครับ
        พระผงสุพรรณ สีดำ ที่พูดกันว่าเป็นพระดินที่เผาไม่สุกพอนั้นก็มีการยืนยันว่าเคยมีพระผงสุพรรณพิมพ์หน้าแก่ที่มีความสวยงามมากเพื่อให้เป็นไปตามความนิยมของสีพระ ท่านเจ้าของพระถึงกับลงทุนนำพระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ สีดำ ไปเผาไฟอีกครั้งหนึ่ง จนกลายเป็นพระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ สีแดง ครับ
        พระผงสุพรรณเป็นพระเนื้อดินที่มีความละเอียดมาก ไม่มีแร่ธาตุหรือกรวดทรายเจือปน จนกระทั้งเคยมีฅนสันนิษฐานว่าพระฤาษีที่สร้างพระผงสุพรรณน่าจะนำเอาดินที่ตกตะกอนจากลำน้ำในลำธารภายในถ้ำที่พระฤาษีจำศีลอยู่ ก็พูดไปโดยปราศจากหลักฐานใดๆ ยืนยันนะครับ แต่เพราะเนื้อดินที่ละเอียดนี้ละครับจึงได้รับการขนานนามว่า " พระผงสุพรรณ "
        พระผงสุพรรณถึงแม้ว่าเนื้อดินจะละเอียดเป็นผง แต่ผิวของพระผงสุพรรณก็มีเอกลักษณ์พิเศษที่ตกกระและเหี่ยวย่น ไม่เหมือนพระดินเผาทัวไป เอกลักษณ์ของผิวพระผงสุพรรณจึงกลายเป็นเคล็ดลับอันสำคัญของการดูพระแท้ของพระผงสุพรรณ
        พระผงสุพรรณ นอกจากสีของเนื้อดินแล้ว ลักษณะการตัดขอบขององค์พระก็เป็นสิ่งสำคัญอันยิ่งยวด มีลักษณะการตัดขอบเป็น 3 ลักษณะคือ
        1. ตัดเป็นรูปสามเหลียมทรงสูง
        2. ตัดเป็นรูปห้าเหลี่ยม
        3. มิได้ตัดขอบ
        เคล็ดลับในการดูพระผงสุพรรณสวยนั้น นอกจากดูที่รายละเอียดของศิลปะแม่พิมพ์ โดยเฉพาะพระผงสุพรรณมีเอกลักษณ์ที่เส้นกระจังจะลึกมาก เนื่องจากเป็นศิลปะอู่ทอง พุทธลักษณะจึงค่อนข้างลึก
พระเศียรจะนูนสูงชัด ปรากฏพระเนตรและกระจัง ซึ่งเป็นเส้นลึกมาก เส้นลึกของกระจังมีเอกลักษณที่หน้าผากขององค์พระจะนูนลาดลงมาสู่วงหน้า และพระเกศาจะนูนโค้งขึ้นไปส่วนบนระหว่างเส้นกระจังจะปรากฏเส้นเหนอะของการถอดพิมพ์ ดูคล้ายๆกับเส้นปรายผมตก มีท่านอาจารย์บางท่านเรียกเส้นนี้ว่า
เส้นชีวิต
        ถ้าเส้นกระจังมีการขุดให้ลึกลงจะไม่ปรากฏเส้นไรผมหรือเส้นชีวิตไดๆ นอกจากเส้นกระจังแล้ว
พระเนตรและพระกรรณจะพิมพ์เห็นชัดมาก ชัดจนปรากฏจุดตำหนิต่างๆ มากมาย พระกรรณจะกางออกเป็นเหมือน " หูบายสี " แต่ศิลปะลำคอจะจมหายไปกับผื้นแผ่นหลังขององค์พระ
        อกขององค์พระผงสุพรรณจะสูงเด่นเหมือนเศียรช้าง และช่วงท้องขององค์พระจะนูนต่ำและจมหายไปกับพื้นก็มี พระกรทั้งสองข้างขององค์พระที่ข้อศอกจะจมหายเข้าไปในพื้นพระจนปรากฏข้อศอกค่อนข้างตื้น และในบางองค์ที่พิมพ์ไม่ลึกพอ ข้อศอกจะจมหายเข้าไปในพื้นขององค์พระ
        ด้วยความเข้าใจผิดของฅนในอคีตที่ต้องการให้พระผงสุพรรณดูสวยงามยิ่งขึ้น จึงพยายามโกนหน้าผากให้เป็นเส้นกระจังอย่างชัดเจน โกนข้อศอกให้เห็นเป็นลำแขน แม้กระทั้งอุดพระเนตรให้พระเนตรทั้งสองข่างเสมอกัน จนมีท่านอาจารย์บางท่านเรียกพิมพ์นี้ว่า " พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าโกน " ครับ
        เคล็ดลับของการดูพระผงสุพรรณสวย ผู้ฅนก็ยังลืมดูไปว่า เพราะเหตุที่การตัดขอบขององค์พระ
เป็นรูปสามเหลี่ยมยอดแหลมเป็นเหตุให้ตัดเอาพระกรรณทั้งสองข้างหรือพระกรรณข้างหนึ่งข้างใดขาดหายไปประกอบด้วยเข่าขององค์พระทั้งสองข้างจะค่อนข่างก้วางการตัดขอบก็มักจะตัดเอาหัวเข่าข้างหนึ่งข้างใดหรือทั้งสองข้างขาดไป เพราะฉะนั้น ความสวยขององค์พระที่จะต้องพิจารณาถึงความลึกของแม่พิมพ์แล้ว องค์ประกอบขององค์พระที่สมบูรณ์จะเป็นสิ่งสำคัณในการพิจารณาครับ

วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระรอด กรุวัดมหาวัน ( ตอน 3 )

                                                   พระรอด กรุวัดมหาวัน พิมพ์เล็ก


        สวัดดีครับ วันนี้ก่อนอื่นผมต้องขอโทษเพื่อนๆ ทุกท่านด้วยนะครับที่หายหน้าไปนาน คือพอดีว่าลูกสาวของผมไม่ค่อยสบายนะครับจึงต้องไปดูแลเขาก่อน
        วันนี้เรามาต่อจากวันก่อนกันเลยนะครับ วันก่อนผมได้กล่าวไปแล้วถึงที่มาของ " พระรอดกรุใหม่" วันนี้ผมจะพูดถึงกรรมวิธีการขุดพระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ซึ่งการขุดพระรอดนั้นจะเป็นวิธีที่ละเอียดอ่อนและเป็นหลักวิชาการมาก เริมด้วยผู้ที่เข้าไปติดต่อประมูลการขุดจะต้องติดต่อกับท่านเจ้าอาวาสวัดมหาวันว่าขออนุญาตขุดทั้งหมดเป็นจำนวนกี่หลุม เมื่อขุดได้พระแล้วจะต้องนำพระมาให้ท่านเจ้าอาวาสดู เสร็จแล้วจึงจะสามารถตกลงเป็นราคาค่าเช่าพระรอดกับท่านเจ้าอาวาส เมื่อชำระเงินตามที่ตกลงกันแล้วจึงจะสามารถครอบครองพระรอดในองค์ที่ขุดขึ้นมาได้
        ที่ว่ากรรมวิธีการขุดเป็นไปตามหลักวิชาการนั้นคือช่างขุดผู้ชำนาญ 1 ฅน จะขุด 1 หลุม ผู้ที่ประมูลขุดกับท่านเจ้าอาวาสมีสิทธิขุดได้ 3 หลุม หรือ 4 หลุม ก็จะต้องว่าจ้างผู้ชำนาญขุด 3 หรือ 4 ฅน ตามจำนวนหลุม ผู้ประมูล หรือเราเรียกว่านายทุน จะต้องเฝ้าอยู่ที่ปากหลุมตลอดเวลา มืฉะนั้นถ้าช่างขุดพระรอดได้ก็อาจมิถึงมือนายทุน อันจะสร้างปัญหากับทางวัดมหาวันอย่างมากมาย กรรมวิธีขุดจะต้องขุดหลุมสี่เหลียมลึกลงไปในดินบริเวณระดับที่มักจะขุดพระได้ เสร็จแล้วช่างผู้ชำนาญจะค่อยๆ ใช้แปรงปัดดินออกเป็นขุย ดินส่วนใดแข็งเกินไปก็ต้องเอาสเปรย์ฉีดนำให้ดินร่วนและสามารถปัดดินเป็นขุยได้ ดินที่ปัดเป็นขุยแล้วก็ต้องค่อยๆโกยเอาดินออกและส่งมายังปากหลุมค่อยๆ ปัดดินไปเรี่อยๆ รอบๆ หลุมหรือลึกลงไปในหลุม ปัดอย่างใจเย็นๆ หลายๆ วัน หลายๆ เดือน จึงจะพบพระสักองค์ ถ้าขุดไม่พบพระ ตกเย็นก็ต้องปิดปากหลุมและเลิกขุด พร่งนี้ขุดใหม่ ปัจจุบันขุดชอนเข้าไปยังใต้พื้นพระอุโบสถ เพราะบริเวณลานนอกพระอุโบสถขุดจนพรุนหมดแล้ว ปัจจุบันพระรอดหน้าจะหมดแล้วนะครับ ( เป็นความเห็นส่วนตัว )
        เมื่อช่างขุดพบพระรอด ด้วยความชำนาญช่างจะทราบทันทีว่าขุดพบพระรอดแล้ว ต้องขุดเป็นก้อนดินขึ้นมาทั้งก้อนที่ห่อหุ้มพระรอดอยู่ภายใน แล้วส่งมอบให้นายทุนนำไปให้ท่านเจ้าอาวาสดู เดือนสองเดือนจึงจะขุดพระได้สักองค์ เพราะฉะนั้นความแตกตื่นดีใจจึงมีเป็นอย่างมาก ข่าวการขุดพระได้จะดังกระฉ่อนดังจนเข้ามาถึงกรุงเทพฯ เรื่องการขุดพระรอดได้จึงไม่สามารถเก็บเป็นความลับได้อย่างเด็ดขาด เพราะฉะนั้นถ้าช่างขุดพระอมพระไปละก็ จะเกิดปัญหากับนายทุนผู้ประมูลการขุดได้อย่างแน่นอน ไหนจะไม่ใด้พระ ไหนจะเสียค่าแรงทุกวัน ไหนจะถูกท่านเจ้าอาวาสหาว่าโกงพระ ถูกสั่งไห้ระงับการขุดและจะไม่มีโอกาสขุดอีกตลอดชีวิต
        มาพูดกันถึงตอนที่ขุดพระได้แล้ว และนำพระรอดไปให้ท่านเจ้าอาวาสดูเพื่อประเมินราคา จุดสำคัญที่สุดก็คือต้องล้างดินออกเพื่อที่จะเห็นพระรอดทั้งองค์ว่าสมบูรณ์แค่ไหน สวยงามมากแค่ไหน ต้องล้างน้ำไห้ดินออกเกื่อบหมด เพราะต้องการเห็นความลึกและรายละเอียดของพระรอด โดยเฉพาะดินที่จับบนองค์พระรอดเป็นดินเหนียวที่จับแน่นมาก การล้างพระด้วยน้ำและปัดดินด้วยพูกันจึงจะสามารถล้างพระรอดให้สะอาดพอให้เห็นรายละเอียดความสวยงามขององค์พระได้สามารถจะประเมินราคาได้แม่นยำ โดยเฉพาะค่าเช่าพระรอดจะต้องประเมินกันองค์ละหลายล้านบาท ยิ่งจะต้องล้างไห้สะอาด ไห้เห็นเส้นแซมและเส้นน้ำตกว่าชัดแค่ไหน
        ผมยังจำคำสอนของท่านอาจารย์วิโรจน์ ใบประเสริฐ ได้ดีว่า เมื่อขุดพระขึ้นจากกรุ ไม่ว่าจะเป็นพระบูชาหรือพระเครื่องชนิดได ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัมฤทธิ์ เนื้อชิน หรือเนื้อดินเผา จะไปแตะต้องถูล้างไม่ได้โดยเด็ดขาด เพราะเนื้อพระจะอ่อนนิมมาก การถูล้างจะทำลายผิวขององค์พระหรือยุบสลายได้ง่ายมาก ต้องปล่อยทิ้งไว้นานเป็นเดือน ให้เนื้อพระถูกอากาศจนแข็งตัว และดินที่จับบนองค์พระแห้งและร่วนหลุดจากองค์พระ
พระจึงจะสวยคมชัดมาก พระรอดกรุมหาวัน จังหวัดลำพูน เป็นพระเนื้อดินเผา มีสีแตกต่างกัน เนื้อดินเผาแกร่งไม่เท่ากัน เช่น
        พระรอด สีขาว  เนื้อพระจะนิ่มมากเหมือนดินสอพอง องค์พระดูใหญ่
        พระรอด สีแดง เนื้อพระจะแข็งขึ้น สีแดงดูสวย องค์พระดูเล็กก่วา
        พระรอด สีเหลือง เนื้อพระจะแข็งแกร่งก่วาสีแดง พระจะดูหดตัวเล็กก่วาสีแดงเล็กน้อย ทำให้รายละเอียดขององค์พระดูชัดคมขึ้น
        พระรอด สีเขียวคาบเหลือง เนื้อพระค่อนข้างจะแข็งแกร่ง องค์พระจะดูเล็กลงก่วาพระเนื้อสีแดงและสีเหลือง รายละเอียดขององค์พระจะดูคมชัด โพธิ์หลังจะดูเป็นสันเป็นเหลี่ยม
        พระรอด สีเขียว เนื้อพระแกร่งมาก องค์พระยิ่งมีขนาดเล็กลง ความคมของลายละเอียดจะคมที่สุด
โพธิ์หลังขึ้นเป็นสัน รายละเอียดบนองค์พระจะเป็นเส้นมาก
        พระรอด สีเขียวเข้มหรือเขียวดำ เป็นพระที่มีเนื้อดินแข็งแกร่งที่สุด องค์พระมีการหดตัวมาก บางองค์หดตัวเสียจนมีขนาดเล็กผิดปกติ เพราะมีการหดตัวมาก รายละเอียดบนองค์พระจึงดูไม่ผึ่งผายเหมือนพระรอดสีเขียว
        เพราะฉะนั้น การที่ล้างพระรอดทันทีเพื่อประเมิณราคาขององค์พระกับท่านเจ้าอาวาส จึงมีผลทำให้ผิวขององค์พระถูกล้างทำลายความคมของศิลปะแม่พิมพ์ขององค์พระไป ดูผิวเผินจะเห็นองค์พระล่ำสันดี แต่รายละเอียดของแม่พิมพ์จะมน ไม่มีสันคม โดยเฉพาะโพธิ์หลังจะมนๆ ไม่เป็นสันตั้งฉากตามศิลปะแม่พิมพ์เดิม เป็นเหตุให้ความสวยงามขององค์พระลดน้อยลง เหมือนพระถูกล้างผิว
        ตรงกันข้ามกับพระรอดสีเขียว เนื้อพระแกร่งมาก ทนทานต่อการล้างน้ำ ทำให้องค์พระรอดสีเขียวยังคงผิวขององค์พระรอดไว้เหมือนเดิม โดยเฉพาะรายละเอียดศิลปะแม่พิมพ์จะคมชัดสวยงามตามศิลปะแม่พิมพ์เดิมของพระรอด ถ้าพระรอดเนื้อสีแดงและเนื้อสีเขียวมีความสวยงามพอๆ กัน ฅนโบราณจึงยึดถือ "พระรอดเนื้อเขียวมีความงามและมีคุณค่าสูงก่วา"
        สำหรับเรื่องราวของพระรอดผมขอจบไว้ตรงนี้ก่อนนะครับแล้วโอกาสหน้าผมจะมาพูดถึงเรื่องของตำหนิแม่พิมพ์รวมถึงจุดตายต่างๆที่จะชี้ว่าพระแท้หรือเก๊กันนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระรอด กรุวัดมหาวัน ( ตอน 2 )

                                           พระรอด กรุวัดมหาวันพิมพ์กลาง

        หวัดดีครับวันนี้เรามาต่อกันเลยนะครับ พระรอดกรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน เริ่มเป็นพระที่ยอดนิยมในหมู่พุทธศาสนิกชนโดยเฉพราะเป็นพระเอกในชุดพระเบญจภาคี พระรอด กรุวัดมหาวัน ส่วนใหญ่เป็นพระที่ผ่านการไช้จากฅนในยุคก่อน และการไช้พระ การบูชาพระของฅนในยุคอดีตเรียกว่าใช้จริงๆ คือพกบูชาติดตัวโดยไม่มีการเลี่ยมพระเหมือนในปัจจุบัน บางท่านก็ใช้อมเข้าปากเวลาเดินทางไปในที่ต่างๆ หรือมักจะนำมาเช็ดถูกับหน้าเพื่อให้เหงื่อไคลบนใบหน้าเจ้าของพระได้ซึมเข้าไปในเนื้อของพระรอด ดูเนื้อนุ่ม และในยุคนั้นถือว่าสวยดี บางครั้งเอาพระแช้น้ำชาและนำเอาใบตองแห้งมาขัดผิวให้พระดูขึ้นมัน
เรียกว่าผิว " มันปู " ยิ่งดูขลังและสวยใหญ่ครับ
        พระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ที่สวยๆ หรือคอ่นข้างสวยจึงมักจะเป็น " พระกรุใหม่ " คำว่าพระกรุใหม่นั้นไม่ใด้หมายความว่าพระรอดยังมีอยู่ในกรุพระเจดีย์อีก หรือกรุพระเจดีย์เดิมยังมีอยู่ แต่หมายถึงพระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ที่ขุดค้นขึ้นมาใหม่ขุดจากลานบริเวณพื้นที่ภายในวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน
        ครับวันนี้ผมขอหยุดไว้เท่านี้ก่อนนะครับ แล้วพรุ่งนี้เราค่อยมาต่อกันไหม่ ( ช่วงนี้ลูกไม่ค่อยสบายนะครับเลยไม่มีเวลาที่จะเขียนทีเดียวให้จบเพราะต้องคอยดผูแลเขา ต้องขอโทษด้วยนะครับ )
   

วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระรอด กรุวัดมหาวัน

                                                 พระรอก กรุวัดมหาวันพิมพ์ตื้น

        วันนี้เรามาต่อกันที่พระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ที่สวยงามนั้นมีเคล็ดลับในการดูอย่างไรกันบ้างครับ
        เพื่อนๆครับ ทำไมฅนโบราณจึงนิยมพระเนื้อดินสีเขียวมากก่วาดินสีแดงและสีเหลืองครับ ถ้าจะพูดถึงพระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ผมก็จะขอเรียนชี้แจงถึงที่มาของพระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพระที่สร้างมาตั้งแต่สมัยทวาราวดี ซึ่งมีอายุการสร้างประมาณ 1,000 กว่าปี
ก็เพราะว่าพุทธศิลป์ของพระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน เป็นศิลปะทวาราวดี แต่จะสร้างในสมัยทวาราวดีหรือสร้างในสมัยยุคหลัง ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด ทราบแต่ว่าพระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน เป็นพระเครื่องดินเผาที่บรรจุอยู่ในกรุพระเจดีย์ในวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน และเมื่อปีใดไม่ทราบ( ผมจำไม่ใด้ ) พระเจดีย์ในวัดมหาวันได้ล้มครืนลงมาทำไห้เศษอิฐ เศษดิน ตลอดจนพระรอดทั้งหมดกระจัดกระจ่ายเต็มบริเวณวัดมหาวัน ในสมัยนั้นพระเครื่องยังไม่เป็นที่นิยมของพุทธศาสนิกชนมากนัก เพื่อเป็นการปรับบริเวณวัดให้เรียบร้อย ทางวัดมหาวันจึงได้เก็บกวาด เศษอิฐ เศษดิน รวมถึงพระรอดทั้งหมด เพื่อนำไปถมในสระน้ำภายในวัดมหาวัน และภายหลังวัดมหาวันมหาวันได้พัฒนาสร้างปูชนียสถานและพระอุโบสถจนทั่วทั้งวัดมหาวัน
        เหตุการณ์กำลังสนุกเลยนะครับติดตามต่อในวันพรุ่งนี้นะครับ

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระลีลาพลูจีบ

                                                 พระลีลาพลูจีบ กำแพงเพชร
        เมื่อวันก่อนผมพูดถึงพระลีลาเม็ดขนุนลานทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชรก็อดจะพูดถึง พระลีลาพลูจีบ ลานทุ่งเศรษฐีจังหวัดกำแพงเพชรไม่ได้ เป็นพระที่ขุดได้ในบริเวณกรุลานทุ่งเศรษฐี จังหวักำแพงเพชร เช่นกัน อีกทั้งพุทธลักษณะลีลาก็คล้ายๆ กัน ต่างกันที่พิมพ์ไม่เหมือนกันเท่านั้น
        พุทธศิลปะของพระลีลาพลูจีบนั้นเป็นพระพิมพ์ลีลา แต่มีลักษณะที่แบนและมักจะจีบคอดตรงกลาง
อันเป็นที่มาของพระนามว่า พระลีลาพลูจีบ คือมีส่วนคล้ายกับจีบใบพลูสำหรับรัปทานนั้นเองครับ
        พระลีลาพลูจีบนั้นเป็นปางพระลีลาที่มีเอกลักษณ์ทางพุทธศิลปะที่ค่อนข้างตื้น เรียกว่าพุทธลักษณะ นูนตำ จนกระทั่งในอดีดมีนักนิยมพระที่ไม่เข้าใจในพุทธศิลป์ของต้นกำเนิดขององค์พระลีลาพลูจีบ จึงพยายามที่จะตบแต่งให้องค์พระมีความชัดคมมากยิ่งขึ้น ทำให้พุทธศิลป์หรือคุณค่าในองค์พระเสียหายหรือลดคุณค่าลง
        สำหรับตำหนิแม่พิมพ์และศิลปะของพุทธศิลป์นั้น วันนี้ผมคงยังจะไม่เจาะลึกลงไปให้ละเอียดนักแต่
ผมสันญาว่าผมจะค่อยๆนำมาเขียนเรื่อยๆ จนก่วาจะครบ เคล็ดลับในการดูพระลีลาพลูจีบที่ผมจะพูดถึงวันนี้ก็คือ พุทธศิลป์ที่แผ่วเบาหรือเป็นศิลปะนูนตำ โดยเฉพาะจุดสำคัญที่สุดคือผิวขององค์พระทั้งหน้าและหลังมีรอยหยาบของแม่พิมพ์ทีเห็นได้ชัด รอยเกล็ดหยาบของผิวจะเกิดขึ้นบนพื้นของพระและกลมกลืนไปกับผิวขององค์พระปางลีลา ทำไห้ไม่เกิดรอยเส้นศิลปะแม่พิมพ์ที่คมชัดเป็นลักษณะเป็นผิวเกล็ด
ไปทั่วทั้งองค์
        จุดที่มีการแต่งแม่พิมพ์จะมีผิวค่อนข้างเรียบอย่างเห็นได้ชัดครับ แต่ถ้าผิวเรียบนวลเหมือนพระลีลาเม็ดขนุนละก็ น่ากลัวครับ

วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระลีลาเม็ดขนุน

                                                       พระลีลาเม็ดขนุนพิมพ์เล็ก

        วันนี้ผมจะขอพูดถึงเคล็ดลับในการดูพระดินเผาโดยผมจะขอเริ่มจาก พระลีลาเม็ดขนุนทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร 
        พระลีลาเม็ดขนุนนั้นเป็นพระที่ขุดใด้จากบริเวณลานทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร บริเวณลานทุ่งเศรษฐีนั้นจะมีหลายวัด หลายกรุ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นกรุพระเจดีย์ที่จมอยู่ใต้พื้นดิน พระลีลาเม็ดขนุนเป็นพระที่ขุดพบพร้อมๆ กับพระซุ้มกอ พระลีลาพลูจีบ ตลอดจนพระกรุลานทุ่งเศรษฐี เช่น พระนางพญากำแพง พระนางกลีบบัว และยังมีพระพิมพ์ต่างๆอีกหลายพิมพ์
        พระลีลาเม็ดขนุนเป็นพระเนื้อดินเผาที่มีเนื้อค่อนข้างละเอียดปราศจากกรวดแร่ใดๆ ทั้งสิ้น ผิวพระจะค่อนข้างนุ่ม เมื่อผ่านการใช้มากๆ เนื้อพระจะมันและค่อนข้างไสเหมือนวุ้น สีพระจะมีทั้งหมด 3 สีคือ
สีแดง สีเหลือง และสีเขียว พุทธลักษณะขององค์พระมีลักษณะยาวและไม่ตัดขอบ จึงมีลักษณะคล้ายๆ
เม็ดขนุน อันเป็นที่มาของพระนามว่า พระลีลาเม็ดขนุน
        เนื่องจากพุทธลักษณะเป็นเม็ดยาว การถอดพิมพ์ของพระลีลาเม็ดขนุนจึงมักจะเคลื่อน จนทำให้ไหล่ขององค์พระเคลื่อนเป็นชั้นๆ ที่พระพักตร์ขององค์พระจะเคลื่อนจนดูไม่สวยงามพอ อย่างไรก็ตามสำหรับพระองค์ที่พิมพ์ไม่เคลื่อน การกดพิมพ์ขององค์พระส่วนบนที่พระพักตร์และการกดพิมพ์ขององค์พระส่วนล่างที่พระบาทก็มักจะกดพิมพ์ได้ไม่เสมอกัน ถ้าพระบาทกดได้ชัด ที่พระพักตร์ก็จะไม่ชัดเต็มพิมพ์พอ ถ้าพระพักตร์กดได้เต็มพิมพ์ พระบาทก็มักจะไม่เต็มพิมพ์ หรืออาจจะเคลื่อนบางองค์ถอดพิมพ์จากด้านล่าง และถอดพิมพ์แรงเกินไปทำให้องค์พระย่นสั้นเข้า ทำให้ศิลปะแม่พิมพ์ขององค์พระดูผิดไป
ในอดีตจึงมีฅนบอกว่า พระลีลาเม็ดขนุน มี 2 พิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่และพิมพ์สั้น แต่ข้อเท็จจริงนั้นมีเพียงแม่พิมพ์เดียวเท่านั้นครับ
        เคล็ดลับในการดูแม่พิมพ์พระลีลาเม็ดขนุนนั้นผมจะขอพูดแต่ในจุดใหญ่ๆเท่านั้นนะครับในส่วนของลายละเอียดย่อยนั้นวันหน้าผมจะนำมาบอกอีกที ( วันนี้ผมมีเวลาน้อยครับ ต้องขอโทษด้วยครับ )
        ศิลปะแม่พิมพ์ที่เป็นจุดใหญ่ๆ ก็คือ ปีกนอกซุ้มทางขวามือขององค์พระจะสูงขึ้น ในขณะที่ปีกนอกซุ้มทางซ้างมือขององค์พระจะลาดปาดลงเกือบ 45 องศา ซุ้มเรือนแก้วจะเป็นเส้นลึกลงไปในเนื้อขององค์พระ มีเกลียวคล้ายเกลียวเชือก
        เนื่องจากเนื้อพระของพระลีลาเม็ดขนุนค่อนข้างนุ่ม ในองค์พระที่กดแม่พิมพ์ไม่ค่อยชัด ในอดีตจึงนิยมแต่งให้พระดูสวย คมชัดยิ่งขึ้น โดยไช้พูกันตัดปลายให้สั้น ให้เข็งตัวเป็นสปริง และค่อยๆเขี่ยพระที่ชุ่มนำให้เส้นสายในองค์พระลึกและคมชัดยิ่งขึ้น เส้นซุ้มครอบแก้วที่ถูกเขี่ยให้ลึกขึ้นนั้นจะกลบเกลียวเชือกในเส้นครอบแก้วให้หมดไป ตรอดจนบริเวณพื้นขององค์พระที่จรดกับองค์พระก็มักจะไช้พูกันค่อยๆ
ขุดจนเป็นร่องลึกรอบองค์พระหรือบางส่วนขององค์พระโดยเฉราะที่เศียรขององค์พระ เพื่อให้ดูพระลึกจนผิดปรกติ เราเรียกว่าพิมพ์เซาะร่องครับ

วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระพุทธชินราชใบเสมา

                                                       พระพุทธชินราชใบเสมา
        พอดีเช้านี้ผมได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับประวัติของเมืองพิษณุโลก จึงทำให้ผมนึกถึงพระเนื้อชินพิมพ์หนึ่งขึ้นมา ที่มีรูปพรรณสัณฐานโดยรอบของแม่พิมพ์อยู่ในลักษณะของใบเสมา องค์ประธานเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัยประทับเหนืออาสนะฐานบัวสองชั้นตรงกลางคั้นด้วยบัวลูกแก้วหรือเม็ดไข่ปลา มีกรอบซุ้มเรือนแก้วเป็นปริมณฑล นักนิยมสะสมพระเครื่องถวายพระนามพระเครื่องพิมพ์นี้ตามรูปลักษณะว่า พระชินราชใบเสมา
        พระชินราชใบเสมาซึ่งอยู่ในความนิยมนั้นเป็นพระเนื้อชินเงินหรือเนื้อชินกรอบ และเป็นชนิดเนื้อชินแก่ตะกั่วก็มีเหมือนกัน แต่จะไม่ปรากฎสนิมแดงแต่อย่างไร พระชินราชใบเสมามีอยู่ด้วยกัน 3 พิมพ์ คือ
พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก
        พระชินราชใบเสมานั้นเป็นพระเครื่องที่เปิดพบในพระปรางค์รัตนมหาธาตุ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
ซึ่งประดิษฐานองค์พระพุทธชินราชดังที่เราได้รับรู้กันมาแล้ว พระเครื่องชินราชใบเสมาจึงถูกขนานนามเป็นพระชินราช แต่พระพุทธลักษณะขององค์พระชินราชใบเสมานั้นหาได้เหมือนกับพระพุทธลักษณะ
ของพระพุทธชินราชไม่ ที่เรียกชื่อเพราะอยู่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวัดเดียวกันและมีพุทธลักษณะองค์พระประทับนั่งในซุ้มเรือนแก้วเช่นเดียวกับองค์พระพุทธชินราชมากก่วา พระพุทธชินราชใบเสมาสร้างในสมัย
กรุงศรีอยุทธยา แต่พุทธลักษณะเป็นพระเทวรูปสมัยลพบุรี ปางมารวิชัย ประทับอยู่ในซุ้มใบเสมา แท่นประทับเป็นแท่นบัวครำและบัวหงาย เป็นพระชินเงินหล่อ ด้านหลังขององค์พระเป็นลายผ้ากระสอบค่อนข้างจะละเอียด ลายผ้าที่ปรากฎนี้สามารถจะยึดถือเป็นตำหนิแม่พิมพ์ได้ พระพุทธชินราชใบเสมาจะไม่ค่อยปร่กฎสนิมขาว ส่วนมากจะมีแต่สนิมตีนกาสีดำและขาวเป็นปรอทนวลคราบดินที่จับองค์พระบ้าง แต่ไม่มากนัก เนื้อขององค์พระจะมีผิวระเบิดบ้าง แต่ก็ไม่มากนัก ส่วนใหญ่พระพุทธชินราชใบเสมาที่ส่วยๆ
จะดูเหมือนเป็นพระใหม่มาก นักเล่นส่วนใหญ่จึงต้องจดจำศิลปะแม่พิมพ์ด้านหน้าและด้านหลังเป็นหลัก
        อย่างไรก็ตาม พระชินราชใบเสมาเนื่องจากเป็นพระที่อยู่ในความนิยมเป็นอันดับ 1 มาตลอด เวลาเจอพระพุทธชินราชใบเสมาองค์ไดที่ติดไม่ชัดเจนนัก ก็มักจะมีฅนตบแต่งเซาะร่องให้ดูชัดเจนยิ่งขึ้น
เส้นสายการเซาะร่องจึงเป็นเหตุให้ดูศิลปะแม่พิมพ์ขององค์พระเพี้ยนไปบ้าง บางองค์ดูเป็นพระไม่แท้ไปก็มีมากครับ
        พระชินราชใบเสมาพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็กนั้น จะมีขนาดเล็กใหญ่ต่างกันเล็กน้อยเท่านั้นที่เรียกพิมพ์ใหญ่นั้นเพราะศิลปะแม่พิมพ์ดูหน้าใหญ่และลำสันก่วากันเท่านั้นส่วนพิมพ์กลางและพิมพ์เล็กนั้นศิลปะแม่พิมพ์จะดูผอมบางและเล็กลงเล็กน้อยเท่านั้น
        สำหรับพระชินราชใบเสมาพิมพ์ฐานสูงนั้น เป็นพระชินราชใบเสมาพิมพ์ใหญ่ แต่ไต้ฐานบัวครำและบัวหงายจะมีฐานเขียงเพิ่มขึ้นอีก สูงประมาณครึ่งหนึ่งของฐานบัวครำและบัวหงาย แต่มีน้อยมากครับ
         พระชินราชใบเสมายังปรากฎขึ้นที่เจดีแปดเหลี่ยม จังหวัดสุโขทัย แต่เป็นพระองค์เล็กก่าวกันมาก
และบางๆ ไม่เป็นที่นิยมของฅนในวงการครับ


      

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระกริ่งสายวัดสุทัศนเทพวราราม ( ต่อ )

                                                    พระกริ่วสายวัดสุทัศนเทพวราราม
หวัดดีครับก่อนอื่นผมต้องขอโทษก่อนนะครับที่หายหน้าไป 2 วัน วันนี้เรามาต่อกันเลยนะครับวันก่อนผมได้พูดถึงกรรมวิธีการแต่งพระของบรมครูกันไปแล้ว วันนี้ผมจะขอพูดถึงหลักในการพิจารณาพระกริ่งของวัดสุทัศนเทพวราราม ซึ่งอย่างที่ผมบอกว่าพระกริ่งของวัดสุทัศนฯ นั้นเป็นพระกริ่งแต่งจึงไม่สามารถจะยึดถือศิลปะแม่พิมพ์ได้มากนัก ตำหนิของแม่พิมพ์พระกริ่งก็ถูกตบแต่งจนไม่สามารถจะยึดถือได้ แนวทางการพิจารณาพระกริ่งวัดสุทัศนเทพวรารามจึงจำเป็นต้องยึดถือเนื้อหรือวัสดุที่นำมาสร้างเป็นหลัก
โดยเริ่มแรก
  - พิจารณาขนาดขององค์พระกริ่ง พระกริ่งที่สร้างในคราวเดี๋ยวกันจะต้องมีขนาดเท่าๆกัน
  - พิจารณาถึงพระพุทธลักษณะขององค์พระกริ่ง ถึงแม้รายละเอียดจะมีการตบแต่ง แต่พระพุทธลักษณะรวมจะต้องเหมือนกัน
  - พิจารณากรรมวิธีเจาะและบรรจุเม็ดกริ่งจะต้องเหมือนๆกัน สีโลหะที่อุดจะต้องเหมือนๆกันทุกองค์
  - ศิลปะที่ฐานจะต้องมีพุทธลักษณะที่เหมือนๆกัน
  - โลหะหรืเนื้อสัมฤทธิ์จะต้องเหมือนๆกัน สีของเนื้อจะต้องกลับกลายเหมืนๆกัน ขุมสนิมและสนิมตีนกา
จะต้องเกิดขึ้นและมีความหนาของสนิมตีนกาคล้ายๆกัน
  - ส่วนผสมของเนื้อโลหะที่ไม่ค่อยสมานกัน เนื่องจากสมัยโบราณความร้อนที่หลอมละลายโลหะยังไช้ระบบแบบโบราณ โลหะที่หลอมกลมกลืนกันไม่เหมือนปัจจุบัน เมื่อได้อายุ สีของโลหะแต่ละจุดจะแตกต่างกันและดูด่างเป็นธรรมชาติ
  - กระแสสะท้องของเนื้อโลหะเป็นประกาย พระกริ่งบางรุ่นกระแสของโลหะจะสะท้อนเป็นรายตามุ้ง
ด้วยเหตุผมทั้งหมดที่ผมได้กล่าวมา พระกริ่งวัดสุทัศนฯ ซึ่งเป็นพระแต่ง จึงยากต่อการวินิฉัยจากภาพถ่าย เพราะสีสันอาจเปลี่ยนไป กระแสสะท้อนจะไม่ปรากฎเป็นต้น ครับ สวัสดี

วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

พระกริ่งสายวัดสุทัศนเทพวราราม

พูดถึงพระกริ่งวัดสุทัศนฯ ซึ่งเป็นพระยอดนิยมของฅนไทย มีเพื่อนๆหลายฅนได้สอบถามผมมาถึงรายละเอียดและประวัติการสร้างพระกริ่งในสกุลวัดสุทัศนฯ ซึ่งความยากลำบากในการวินิจฉัยพระกริ่งวัดสุทัศนฯ อยู่ตรงที่พระกริ่งวัดสุทัศนมีการแต่งองค์พระให้ดูสวยงามและชัดเจน กรรมวิธีการแต่งพระนั้นก็มีหลายวิธีและหลายช่าง ช่างบางท่านเช่น ท่านอาจารย์หนู ก็เป็นช่างบรมครูใช้กรรมวิธีไล่เนื้อ ไม่ไช้กรรมวิธีการตะไบเนื้อออก เช่นถ้าปรากฏว่าพระกริ่งที่ภายหลังการหล่อพระเสร็จเรียบร้อยแล้วจะเกิดเป็นหลุมเป็นบ่อ เนื่องจากฟองอากาศ พระกริ่งบางองค์เมื่อเทออกมาเสร็จแล้วก็มีบางจุดโป่ง บางจุดเบี้ยว
การแต่งพระที่ถูกตามหลักวิชาการนั้นจะต้องไม่ไช้วิธีการตะไบเนื้อออก แต่ไช้เหล็กแหลมคอ่ยๆ เคาะไล่เนื้อส่วนเกินไห้ยุบและไปโป่งไนบริเวณที่พระกริ่งมีเนื้อยุบ เพื่อไห้พระกริ่งทั้งองค์มีสัดส่วนสมบูรณ์และได้สมดุล ที่ไดที่เป็นรูพรุน และไม่สามารถไล่เนื้อจากจุดไดได้จำเป็นต้องอุดรูพรุนด้วยการเสริมเนื้อ
โดยการนำฉนวนพระกริ่งไนช่อเดียวกันเพื่อไห้เนื้อพระกริ่งเหมือนกันทั้งองค์ เสร็จแล้วเหลาฉนวนไห้แหลมและตอกอุดลงไปในรูที่พรุน พออุดแน่นแล้วจึงตัดฉนวนไห้ชิดกับองค์พระกริ่งเสร็จแล้วจึงใช้เหล็กแหลมไล่เนื้อไห้เต็มและแน่นจนพระกริ่งสมบูรณ์หมดทั้งองค์ อีดทั้งยังไช้เหล็กแหลมค่อยๆ ขูดผิวพระกริ่งให้เรียบและตึงเสมอกันทั้งองค์ กรรมวิธีบรมครูนี้เป็นเรื่องที่ยากและไช้เวลาเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้น ช่างบางท่านจึงไช้วิธีรวบรัดไช้ตะใบถูพระให้เรียบมากก่วาการไล่เนื้อ เป็นเหตุไห้องค์พระกริ่งมีขนาดเล็กและบางลง อันเป็นการแต่งพระที่ไม่ถูกต้อง
เพื่อนๆครับพอดีวันนี้ผมมีธุระด่วนเข้ามาต้องขอโทษจริงๆยังไงพรุ่งนี้ถ้าไม่ติดอะไรผมจะมาต่อไห้นะครับ

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

พระขุนแผนเครือบวัดใหญ่ชัยมงคล

                                    พระขุนแผนเครือบวัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พอดีวันก่อนผมไปใหว้พระที่จ.อยุทยามา วันนี้ผมเลยจะขอพูดถึงพระดีที่หาดูยากจนกลายเป็นตำนาน
นั้นคือพระขุนแผนเครือบวัดใหญ่ชัยมงคลเป็นพระยอดนิยมอันดับ 1 ของ จ.อยุธยาและของประเทศไทย
นอกจากจะเป็นพระที่มีน้อยและหาดูยากแล้ว พุทธลักษณะยังเป็นพระที่มีความสวยงาม มีความลึกและคมชัดอย่างที่จะหาพระเครื่องชนิดไดเทียบเท่าได้ และเอกลักษณ์ที่สำคัญที่สุดคือเป็นพระดินเผาแล้วเครือบสีไว้ตั่งแต่ในสมัยโบราณ สีที่เครือบนั้นยังสดใสและเครือบรักษาศิลปะรายละเอียดของพุทธลักษณะไว้ได้ 100% จึงนับได้ว่าเป็นพระเครื่องที่มีคุณสมบัติและมีเอกลักษณ์ที่พิเศษเป็นเลิศสุดของประวัติการสร้างพระของประเทศไทย
สำหรับตำหนิพิมพ์ทรงนั้นวันนี้ผมจะยังไม่ขอพูดถึง แต่วันนี้ผมจะขอบอกเกี่ยวกับเคล็ดลับการดูนำยาเครือบพระขุนแผนเครือบวัดใหญ่ชัยมงคล ท่านอาจารณ์วิโรจน์ ใบประเสริฐ ใด้แนะนำไว้ว่าให้ใช้ทฤษฎีการดูนำยาเครือบของชามสังคโลกเป็นครูดูการแตกลายงาถ้ารอยแตกลายงาอยู่ลึกอยู่ติดกับเนื้อกระเบื่องดินเผา และผิวบนของนำยาเครือบ จะไม่แตกมีความตึงเรียบเหมือนของไหม่ จึงจะเป็นของแท้ รอยแตกลายงาที่เกิดขึ้นนั้นเกิกจากกระเบื่องดินเผาเมื่อผ่านกาลเวลานานหลายร้อยปีย่อมเกิอการแห้งและหดตัวลงตามธรรมชาติ กระเบื่องดินเผาและนำยาเครือบเป็นวัสดุคนละชนิดกัน การหดตัวจึงไม่เท่ากัน
เป็นเหตุให้นำยาเครือบในบริเวณที่ติดกับกระเบื่องจะเกิดการแตกเป็นลายเส้น เราเรียกว่าแตกลายงา แต่รอยแตกนั้นจะแตกเฉพาะในส่วนที่อยู่ลึกๆเท่านั้นจะไม่แตกทะลุออกมาสู่ผิงนอกของนำยาเครือบโดยเด็ดขาด เพราะฉะนั้นเมื่อดูผิวนำยาเครือบจะดูไสเหมือนนำยาใหม่ๆ

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

พระสมเด็จวัดระฆัง


เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)
 วันนี้ผมจะไม่ขอกล่าวถึงประวัติของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จท่านนะครับเพราะผมเชื่อว่าหล่ายๆท่านคงจะรู้อยู่แล้ว
หรือท่านที่ยังไม่รู้ก็สามารถหาข้อมูลได้ไม่ยาก เพราะท่านเป็นพระที่มีผู้คนให้ความศรัทธาเป็นอันดับต้นๆของเมืองไทยจึงมีข้อมูลให้ได้หาศึกษาอยู่มาก แต่วันนี้ผมจะมาฝากแกรดเล็กๆเกี่ยวกับการศึกษาพระเครื่องของสมเด็จท่าน หลักการดูพระสมเด็จวัดระฆัง
  1. จำพิมพ์ให้แม่น พระสมเด็จวัดระฆัง จะมี 5 พิมพ์ คือ พิมพ์พระประธาน ทรงเจดีย์ เกศบัวตูม ฐานแซม และปรกโพธิ์
  2. ดูจากของจริง และเปรียบเทียบกับ พระพิมพ์สมเด็จอื่นๆ เพื่อดูจุดต่าง
  3. ดูเนื้อ และมวลสาร ส่วนผสมของ พระสมเด็จวัดระฆัง เกิดจาก การนำหินปูน มาเผาไฟ ทุบป่นให้แตกละเอียด เหมือนแป้ง ผสมกับ น้ำมันตังอิ๊วของจีน และมวลสารมงคลต่างๆ อาทิ เศษพระหัก กล้วยนำว้าเกสรดอกไม้แห้ง ข้าวสุก เนื้อพระสมเด็จ จึงมักมี มวลสาร ปรากฏให้เห็น และมักจะมีรอยปูไต่
สำหรับวันนี้ผมขอเกร่นไว้แค่นี้ก่อนแล้ววันหน้าผมจะนำข้อมูลด้านตำหนิต่างๆของแต่ละพิมพ์พร้อมทั้ง            ธรรมชาตืของพระอายุเป็น 100 ปี มาฝากนะครับ

ยินดีต้อนรับทุกท่านครับ

เว็บนี้ผมทำขึ้นเพื่อต้องการจะเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องและเครื่องรางของขลังของฅนไทยให้กับทุกท่านที่มีความสนใจได้ศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้กัน โดยบทความทั้งหมดที่ผมจะนำมาเผยแพร่นั้นผมจะตรวจสอบจนแน่ใจแล้วว่าเป็นบทความหรือข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ก่อนทุกครั้งที่จะเขียนลงไนเว็บนี้ แต่หากว่าเกิดความผิดพลาดขึ้นผมก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ